วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

Week 6 : week 6 : Physical Layer cont.

Digital subscriber line

ADSL (Asymmetrical DSL)

  • ADSL จะคล้ายกับโมเด็ม 56K คือ อัตราเร็วที่ใช้ในการส่งข้อมูลออกไปยังอินเทอร์เน็ตจะมีอัตราเร็วที่ใช้ในการส่งข้อมูลออกไปยังอินเทอร์เน็ต (upstream) จะมีค่าน้อยกว่าอัตราเร็วของการส่งข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต (downstream) มายังผู้ใช้ ซึ่งไม่เหมาะสมกับลูกค้าระดับองค์กรที่ต้องการทั้งการส่งและการรับข้อมูลด้วยความเร็วสูง
  • สาเหตุที่ADSL มีอัตราเร็วที่สูงกว่าการใช้โมเด็ม เพราะระบบโทรศัพท์นั้นได้มีการใช้ตัวกรองสัญญาณ (filter) เพื่อที่จะจำกัดแบนด์วิดธ์ของผู้ใช้แต่ละรายให้อยู่ที่ 4 KHz ทั้งๆที่สายโทรศัพท์มีแบนด์วิดธ์ที่กว้างถึง 1.1 MHz ดังนั้นถ้าตัดตัวกรองสัญญาณออกไปแล้ว จะทำให้การส่งข้อมูลสามารถใช้แบนด์วิดธ์ของสายได้อย่างเต็มที่ ในการใช้งานจริงยังมีอีกหลายปัจจัยที่จะทำให้แบนด์วิดธ์มีค่าน้อยกว่า 1.1 MHz เช่น ระยะทางจากบ้านไปยังชุมสายโทรศัพท์ ขนาดของสาย สัญญาณที่ส่ง เป็นต้น ดั้งนั้น ADSL จึงไม่ได้กำหนดตายตัวว่าผู้ใช้จะมีอัตราเร็วในการรับส่งข้อมูลเท่าใด เนื่องจากจะต้องมีการทดสอบผลกระทบต่าง ๆ เสียก่อน แล้วจึงจะทำการกำหนดอัตราเร็วในการรับส่งข้อมูลให้กับผู้ใช้ตอนติดตั้งระบบ

DMT (Discrete multitone technique)

  • เทคโนโลยี ADSL จะใช้เทคนิคการมอดูเลชันแบบ DTM ซึ่ง DTM เกิดจากการรวมกันของเทคนิค QAM (quadrature amplitude modulation) และ FDM (Frequency-division multiplexing) โดยเมื่อสายมีแบนด์วิดธ์ 1.104 MHz จะทำการแบ่งออกเป็นช่องสัญญาณสื่อสารได้ 256 ช่อง แต่ละช่องจะมีแบนด์วิดธ์ 4.312 KHz

ADSL modem

  • ADSL ตามบ้านเรือนของผู้ใช้ จะเชื่อมโยงกับชุมสายโทรศัพท์ที่ใกล้ที่สุด ซึ่งเราเรียกกันโดยทั่วไปว่า โลคอลลูป(Local loop) โลคอนลูปจะเชื่อมต่อกับตัวกรองสัญญาณซึ่งจะทำหน้าที่แยกสัญญาณเสียงและสัญญาณข้อมูล ส่วนโมเด็ม ADSL จะใช้หลักในการมอดูเลชันแบบ DMT เพื่อสร้างช่องสื่อสารสัญญาณสำหรับการส่งข้อมูลออกไปและรับข้อมูลเข้ามา

DSLAM (Digital subcriber line access multiplexer)

  • นอกจากโมเด็ม ADSL ที่ต้องติดตั้งตามบ้านของผู้ใช้แล้ว ที่ชุมสายโทรศัพท์จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ที่มีลักษณะการทำงานที่คล้ายกับโมเด็ม ADSL ซึ่งเรียกกันว่า DSLAM อุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่ส่งข้อมูลที่ได้รับมาออกไปยังอินเทอร์เน็ตต่อไป

Multiplexing

  • Multiplexing เป็นเทคนิคที่ใช้ในการรวมสัญญาณหลาย ๆ สัญญาณเข้าด้วยกันและส่งออกไปพร้อมกันภายในเส้นทางที่ใช้ในการสื่อสารเพียงเส้นทางเดียว

FDM (Frequency-division multiplexing)

  • FDM การผสมสัญญาณโดยแบ่งความถี่ เป็นการรวมสัญญาณอะนาล็อกจากหลายๆที่เข้าด้วยกัน แล้วส่งไปทางเดียวกัน โดยที่แบนด์วิดธ์ของเส้นทางที่ใช้ในการสื่อสารนั้นจะต้องกว่างพอ ซึ่งต้องมากกว่าแบนด์วิดธ์ของทุกสัญญาณที่นำมารวมกัน สัญญาณอะนาล็อกที่ถูกส่งมาจากแต่ละอุปกรณ์นั้น จะต้องผ่าย Modulator โดยที่ Modulatr แต่ละตัวนั้น จะมีคลื่นพาห์ (Carrier) ที่มีความถี่ที่แตกต่างกัน จะทำหน้าที่ในการกล้ำสัญญาณ (Modulate) จากอุปกรณ์เข้ากับคลื่นพาห์
    Minimum bandwidth of the link = Channel x Bandwidth(KHz) + Guard band x KHz for Guard band

WDM (Wave-division multiplexing)

  • WDM การผสมสัญญาณโดยแบ่งความยาวคลื่น ได้ถูกออกแบบให้ใช้กับสายไฟเบอร์ออปติกจะมีแบนด์วิดธ์ที่กว้างมากและมีอัตราการส่งข้อมูลที่สูง WDMจะมีหลักการเหมือนกับFDM แตกต่างกันที่ WDM นั้นจะใช้แสงเป็นตัวนำส่งสัญญาณ ดังนั้นในวิธีการผสมสัญญาณ (Multiplexing) และการแยกสัญญาณ(Demultiplexing)จึงแตกต่างกัน

TDM (Time-division multiplexing)

  • TDM เป็นเทคนิคที่ใช้กับสัญญาณดิจิตอล โดยจะทำการแบ่งเวลาในการส่งข้อมูลให้กับอุปกรณ์ ตามลำดับ เมื่อครบทุกเครื่องแล้วก็จะวนกลับไปที่เครื่องเริ่มต้น และเรียงตามลำดับจนถึงเครื่องสุดท้ายเพื่อทำการส่งข้อมูลอีกครั้ง ข้อมูลที่ถูกส่งมากจากทุกเครือ่งจะถูกนำมารวมกันเป็นเฟรม (Frame) และช่วงเวลาที่แบ่งให้กับแต่ละเครื่องเรียกว่า ช่องเวลา (Time slot)

STDM (Statistical time-division multiplexing)

  • STDM ใน synchronous จะมี slot เท่ากันทุกตัวและจะสร้าง slot ตามความต้องการของข้อมูล จะมีMultiplexing คอยตรวจสอบข้อมูลใน line และส่งข้อมูลจน frame เต็ม จะมีอัตรการข้อมูลที่ส่งต่ำกว่าอุปกรณ์ที่จะส่ง

IMUX (Inverse Multiplexing)

  • IMUX เป็นวิธีการส่งสัญญาณจากสื่อที่มีความเร็วสูง แยกลงสื่อที่มีความเร็วต่ำกว่าหลายๆเส้น

1 ความคิดเห็น: