Data link control
Automatic Repeat Request (ARQ)
Main ARQ protocols
ARQ แบ่งออกเป็น 3 วิธี คือ stop-and-wait ,Go-Back-N และ Selective-Repeat

1.Stop and Wait คือกลไกที่ใช้ในการควบคุมอัตราการไหลและควบคุมการผิดพลาดของข้อมูลที่ง่ายและไม่ซับซ้อนมากนัก มีหลักการดังนี้
1) ผู้งข้อมูลจะต้องทำการcopyเฟรมข้อมูลที่จัดส่งไปเอาไว้ก่อน จนกว่าผู้รับจะยืนยันว่าได้รับเฟรมข้อมูลนั้นแล้ว
2) ในการยืนยันตอบรับเฟรมข้อมูลของผู้รับนั้น จะรับจะต้องส่งเฟรม acknowledgment(ACK) มาให้กับผุ้ส่งซึ่งการส่งเฟรม ACK เป็นการบ่งบอกว่าได้รับเฟรมอะไร และเฟรมที่จะต้องการถัดไปนั้นคือเฟรมอะไร
3) ถ้าผู้รับได้รับเฟรมข้อมุลที่ผิดพลาด ผู้รับจะทิ้งเฟรมนั้นไป เชื่ออยากได้ เฟรม 1 แต่ได้ เฟรม 0 มา จะทำการทิ้งเฟรมนั้นไป
กลไกลการทำงาน
ในการส่งเฟรมข้อมูลออกไปนั้น เราสามารถแบ่งสถานการณ์ที่เกิดขึ้นออกเป็น 4 แบบ คือ กรณีปกติ กรณีเฟรมACKสูญหาย กรณีเฟรมข้อมูลสูญหาย(Lost) และกรณี ACK ล่าช้า
2.Go-Back-N เป็นการส่งข้อมูลออกไปที่ละหลายๆเฟรม ก่อนที่จะได้รับเฟรมACKตอบกลับมา เพื่อนการใช้สายสื่อสารให้ได้อย่างเต็มที่

กลไกการทำงานของ Go Back N จะทำการส่งข้อมูลจำนวน W เฟรมก่อนที่จะได้รับเฟรม ACK ดังนั้นผู้ส่งจะต้องทำการcopyเฟรมข้อมูลทั้ง W เฟรมเอาไว้ด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ในเฮดเดอร์ของเฟรมข้อมูลทุกเฟรมจะต้องมีหมายเลขลำดับ (Sequence number) ด้วยเพื่อที่จะได้รับทราบว่าเป็นเฟรมที่เท่าใด โดยที่หมายเลขลำดับนี้จะเริ่มต้นจาก 0 เป็นต้นไป และจะเริ่มจากซ้ายไปขวา
ตัวอย่าง 0,1,2,3,4,5,6,7,0,1,2,3,4,5,6,7,0,1,......
Sender Slidind Windows
คล้ายๆกับการมีหน้าต่างมาครอบเฟรมข้อมูล แล้วใช้การเลื่อนหน้าต่างไปมา เฟรมข้อมูลที่อยู่ด้านซ้ายของหน้าต่างจะหมายถึงเฟรมที่ได้รับ ACK แล้ว สามารถที่จะลบทิ้งเฟรมนั้นออกจากบัฟเฟอร์ได้ ส่วน้ฟรมด้านขวาของหข้าต่างเป็นเฟรมที่ยังไม่ได้มีการส่งออกไป จะต้องรอจนกระทั้งหน้าต่างเลื่อนมาถึงจึงจะสามารถส่งเฟรมข้อมูลได้
Receiver Sliding Window
กลไก stop and wait ขนาดหน้าต่างของผู้ส่งที่ครอบเฟรมข้อมูลนั้นจะมีขนาดเท่าใดก็ได้ แต่ขนาดหน้าต่างของผู้รับจะมีค่าเท่ากับ 1 เสมอนั่นหมายความว่า หน้าต่างของผู้รับจะสามารถครอบเฟรมข้อมูลได้เพียงเฟรมเดียง เฟรมข้อมูลที่ถูกหน้าต่างครอบไว้นั้นคือ เฟรมที่ผู้รับต้องการและยังไม่ได้รับเฟรมนั้นจากผู้ส่ง

3.Selective Repeat
เนื่องจากสัญญาณรบกวนจะทำให้เฟรมข้อมูลหายหรือเสียหายได้ ดังนั้นโอกาสที่ผู้ส่งจะต้องส่งข้อมูลซ้ำของเดิมยิ่งมากขึ้นด้วย ซึ่งจะส่งผลทำให้การส่งข้อมูลช้าลง จากปัญหานี้จึงได้มีการคิดค้นโพรโตคอลที่สามารถทนต่อสื่อที่มีสัญญาณรบกวนมาก โดยจะสารถส่งเฉพาะเฟรมข้อมูลที่สูญหายหรือเสียหายเท่านั้นไม่จำเป็นต้องส่งเหรมอื่นๆด้วย
กระบวนการทำงาน
เนื่องจากมีเฟรม ACK จากผู้รับแล้ว ยังมีเฟรม NAK (nagative acknowledgment ) ด้วยโดยเฟรมนี้จะเป็นการบอกถึงเฟรมข้อมูลที่เสียหาย ซึ่งผู้ส่งจะต้องส่งเฟรมขู้อมูลกลับมาใหม่อีกครั้ง
HDLC (High-level Data Link Control) เป็นโพรโตคอลที่ออกแบบมาให้สามารถสื่อสารได้ทั้งแบบฮาล์ฟดูเพล็ก และ ฟลูดูเพล็ก บนพื้นฐานของการเชื่อมโยงอุปกรณ์สื่อสาร ทั้งแบบ point-to-point และ แบบ multipoint หรือ multidrop
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น