วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Week 9:Data link layer cont.

High-level Data link Control (HDLC)
เป็นโพรโตคอลที่ถูกออกแบบมาให้สามารถสื่อสารได้ทั้งแบบฮาล์ฟดูเพล็กซ์และฟูลดูเพล็กซ์ บนพื้นฐานการเชื่อมโยงอุปกรณ์สื่อสารทั้งแบบจุดต่อจุด(point-to-point) และ แบบหลายจุด (multipoint)หรือ(multidrop) HDLC มีวิธีการสื่อสาร 2 แบบ คือ NRM และ ABM

NRM-(Normal response mode)
เป็นวิธีการสื่อสารที่ต้องมีสถานีหลัก (primary station) 1 สถานี ส่วนสถานีรอง (secondary station) สามารถมีได้หลายสถานี

ABM-(Asynchronous balanced mode)
จะใช้กับการเชื่อมโยงอุปกรณ์สื่อสารแบบจุดต่อจุด โยงทุกสถานีจะทำหน้าที่เป็นสถานีหลักและสถานีรองในเวลาเดียวกัน

ในการออกแบบเฟรมข้อมูลของHDLC จะต้องให้ยืดหยุ่นกับวิธีการสื่อสารทั้งแบบ NRM และ ABM ดังนั้นจึงได้มีการกาหนดเฟรมข้อมูลไว้ 3 ชนิด ดังนี้

I-frame (information frame) เป็นเฟรมที่ใช้สำหรับบรรจุข้อมูลของผู้ใช้และควบคุมความผิดพลาดของข้อมูลจากการสูญหายเสียหายหรือส่งซ้า
I-frame ออกแบบมาเพื่อรับข้อมูลจากเน็ตเวิร์กเลเยอร์ สามารถเพิ่มบิตสำหรับควบคุมการไหลของข้อมูลและการตรวจสอบความผิดพลาดของการส่งข้อมูลได้ด้วย (piggybacking)

S-frame (supervisory frame) เป็นเฟรมที่จะใช้สำหรับควบคุมความผิดพลาดของข้อมูลจากการสูญหายเสียหายหรือส่งซ้า
S-Frame ใช้สาหรับควบคุมอัตราการไหลของข้อมูลและการตรวจสอบความผิดพลาดของการส่งข้อมูล จะมีการใช้ก็ต่อเมื่อไม่มีการทา piggybacking ดังนั้น S-frame จะเป็นเพียง acknowledgment เท่านั้นจะไม่มีการส่งข้อมูลใดๆ ไปพร้อมกับเฟรมนี้

U-frame (unnumbered frame) เป็นเฟรมที่ใช้สำหรับการจัดการระบบเช่นการสร้างการติดต่อหรือการยกเลิกการติดต่อเป็นต้น
U-frame เป็นเฟรมใช้สำหรับบริหารจัดการโดยจะมีฟิลด์ที่ใช้เก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการบริหารระบบเท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลผู้ใช้ U-frame จะเก็บรหัส ของการควบคุมไว้ 2 ส่วนคือ 2 บิตหน้าบิต P/F และอีก 3 บิตหลังบิต P/F ดังนั้นจึงมีรหัสที่ใช้สาหรับควบคุมระบบได้ถึง 5 บิต (32 รหัส)


PPP (Point-to-Point Protocols)
เป็นโพรโตคอลสาหรับการเชื่อมโยงแบบจุดต่อจุด โดยเฉพาะที่ใช้งานตามบ้านเรือนที่ใช้เชื่อมคอมพิวเตอร์ไปยังผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) ส่วนใหญ่จะเลือกใช้โพรโตคอลนี้เป็นหลัก ไม่ว่าจะใช้โมเด็มธรรดา
ดีเอสแอล โมเด็ม (DSL modem) หรือ เคเบิลโมเด็ม ซึ่งสื่อที่ใช้นั้นแตกต่างกันออกไป เช่นสายโทรศัพท์ หรือสายเคเบิลทีวี อย่างไรก็ตามในการควบคุมและการจัดส่งข้อมูลและใช้โพรโตคอล PPP
ลักษณะของ PPP
-มีการกาหนดโครงสร้างของเหรมข้อมูลที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกันระหว่างอุปกรณ์
-มีการกาหนดวิธีการสร้างการติดต่อและการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน
-มีการกาหนดว่าข้อมูลที่ถูกส่งมาจากเน็ตเวิร์กเลเยอร์จะนาไปใส่ในเฟรมของเดทาลิงค์เลเยอร์ได้อย่างไร
-มีการกาหนดถึงวิธีการยืนยันบุคคล(authentication)

Link Control Protocol (LCP)
LCP จะประกอบไปด้วย
-Code เป็นการบอกถึงชนิดของแพ็กเก็ตLCP
-ID เป็นหมายเลขที่ใช้สำหรับการร้องขอและการตอบรับกลับ
-Lengthขนาดของแพ็กเก็ตLCP
-Information เป็นฟิลด์ที่บรรจุข้อมูลพิเศษเข้าไปกับบางเพ็กเก็ต


Authentication Protocol
การยืนยันตัวบุคคล เป็นเรื่องที่สำคัญสาหรับโพรโตคอล PPP เนื่องจากถูกออกแบบมาสาหรับการเชื่อมต่อกันโดยใช้สายโทรศัพท์เป็นหลัก ดังนั้นถ้าไม่มีการตรวจสอบการเข้าใช้งานจะเป็นเรื่องที่อันตรายมาก การยืนยันตัวบุคคลมีโพรโตคอลที่สาคัญอยู่ 2 ตัว คือ Password Authentication Protocol (PAP)และ ChellengeHandshake Authentication Protocol (CHAP)

Password Authentication Protocol (PAP)
แพ็กเก็ต PAP แบ่งออกเป็น 3 ชนิดได้แก่
-Authenticate-request ใช้สาหรับส่งชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่าน
-Authenticate-ackใช้สาหรับการยอมรับชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านบอกว่าสามารถให้เข้าใช้ระบบได้
-Authenticate-nakใช้สาหรับการปฏิเสธการเข้าใช้ระบบ

Challenge Handshake Authentication Protocol (CHAP)
เป็นโพรโตคอลที่มีความปลอดภัยมากกว่า PAP เนื่องจากโพโตคอลนี้รหัสผ่านจะถูกเก็บเอาไว้และจะไม่ถูกส่งออกไปตามสายส่งโพรโตคอล
แพ็กเก็ต CHAP แบ่งออกเป็น 4 ชนิด ได้แก้
-Challenge ใช้สาหรับในการส่งตัวเลขสาหรับใช้ในการคานวณไปให้กับผู้ใช้
-Response แพ็กเก็ตที่ผู้ใช้ส่งผลการคานวณมาให้กับระบบ
-Success แพ็กเก็ตที่ระบบส่งไปบอกผู้ใช้สามารถเข้าใช้งานระบบได้
-Failure แพ็กเก็ตที่ระบบส่งไปบอกผู้ใช้ว่าไม่อนุญาตให้เข้าใช้งานได้


Internetwork Protocol Control Protocol (IPCP)
เป็นโพโตคอลที่ทางานร่วมกับเน็ตเวิร์กเลเยอร์ โดยการนาข้อมูลจากเน็ตเวิร์กเลเยอร์มาใส่ไว้ในเฟรมข้อมูล PPP ฟิลด์โพรโตคอลจะมีค่าเป็น 802116เมื่อต้องนามาส่งแพ็กเก็ต IPCP
แพ็กเก็ต IPCP แบ่งออกเป็น 7 ชนิด

Code IPCP Packed
01 Configure-request
02 Configure-ack
03 Configure-nak
04 Configure-reject
05 Terminate-request
06 Terminate-ack
07 Code-reject

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น